พลังงานน้ำ ในประเทศไทย 3 แห่ง คู่ชีวิตประชาชนชาวไทย
‘ทรัพยากรน้ำ’ เป็นอีกหนึ่งทรัพยากรซึ่งมีความสำคัญ
ใช้ในการอุปโภค – บริโภค
อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างช้านาน และน้ำยังเป็นพลังงานสำคัญ ซึ่งนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า
สร้างแสงสว่างให้คนไทยมาอย่างนานนม แน่นอนว่าการใช้ประโยชน์จากพลังงานน้ำมีมาอย่างยาวนานตั้งแต่อดีต
แต่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากการใช้พลังน้ำนั้น เกิดการพัฒนาขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่
19 หากแต่ในประเทศไทย มีการใช้พลังงานน้ำมาผลิตไฟฟ้า
ในปี พ.ศ. 2507
โดยโรงผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำที่กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศไทยนั้น
ไม่ใช่ทุกแห่งหนจะมีวิธีการผลิตไฟฟ้า ที่เหมือนกันทั้งหมด เพราะโรงผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ
ซึ่งติดตั้งอยู่ตามเขื่อนต่างๆ ทั้งประเทศไทยนั้น แบ่งออกได้เป็น 3
ประเภท ได้แก่…
- 1.
โรงไฟฟ้าพลังน้ำจากอ่างเก็บน้ำ
สำหรับโรงงานผลิตไฟฟ้าประเภทนี้ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมากที่สุดในประเทศไทย
โดยมีหลักการทำงานอันเป็นเอกลักษณ์ คือ เป็นสถานที่กักเก็บน้ำไว้ที่บริเวณอ่างเก็บน้ำของเขื่อน
วิธีสร้าง คือ การปล่อยน้ำจากอ่างเก็บน้ำ ให้ไหลผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้านั่นเอง เพราฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีความสูงระหว่างอ่างเก็บน้ำ
และท้ายน้ำให้มีความลดหลั่นกัน สำหรับโรงไฟฟ้าประเภทนี้ เน้นชลประทานเป็นหลัก
โรงไฟฟ้าประเภทนี้ในประเทศไทยมีอยู่หลายแห่งด้วยกัน เช่น เขื่อนภูมิพล จ.ตาก, เขื่อนสิริกิต์
จ.อุตรดิตถ์และเขื่อนวชิราลงกรณ์ จ.กาญจนบุรี เป็นต้น
- 2.
โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบน้ำไหลผ่านตลอดปี โดยไม่ได้มีการกักเก็บน้ำไว้ที่ต้นน้ำ
หากแต่จะมีการปล่อยให้น้ำไหลพาดผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพราะฉะนั้นเมื่อน้ำไหลผ่านเมื่อใด
ก็จะมีการผลิตไฟฟ้าได้ทันที !
ทำให้ในขณะเดียวกันนั้นเอง ถ้ามีปริมาณพลังงานไฟฟ้า
ซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากจนเกินไปก็จะไม่อาจกักเก็บไว้ได้ ยกตัวอย่างเช่น
เขื่อนปากมูล จ.อุบลราชธานี เป็นต้น
- 3.
โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ สำหรับการผลิตประเภทนี้
คือ แบตเตอรี่พลังน้ำ โดยวิธีการผลิตไฟฟ้า เสมือนกับโรงไฟฟ้าจากอ่างเก็บน้ำ หากแต่มีความแตกต่างตรงที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าประเภทนี้จะสูบน้ำกลับขึ้นไปยังอ่างเก็บน้ำบริเวณด้านบนได้
เพื่อทำการลำเลียงน้ำลงมาผลิตไฟฟ้าอีก วนลูปแบบนี้เรื่อยไปสำหรับโรงไฟฟ้าในไทย
ซึ่งใช้ระบบนี้ คือ โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าแบบสูบกลับแน่นตึ๊บทุกเครื่อง
ถ้าถามว่า การเลือกว่าจะติดตั้งโรงไฟฟ้าประเภทใดดีนั้น
คุณจะต้องมีความคำนึงถึงภูมิประเทศที่ก่อสร้าง รวมทั้งการชลประทานด้วย เพราะการสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำนั้น
จำเป็นต้องใช้พื้นที่ที่มีความกว้างขวางมาก และต้องเป็นพื้นที่อันมีความเหมาะสมตามหลักอีกด้วย
No Comments